วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

บทความโดนใจ

บทความโดนใจ
Submitted by PARCH on Tue, 05/03/2005 - 11:06. จากเวปบอร์ด www.asa.or.th
           อยากถามจากประสบการณ์ทุกท่านว่าปัจจุบันระหว่างบริษัทกับการรับงานอิสระ (freelance)ใช้ อัตราส่วนเท่าใดในการคิดค่าบริการวิชาชีพบ้าง แล้วมาตรฐานจากส่วนกลางที่เคยกำหนดยังใช้ได้กับสภาพปัจจุบันอยู่หรือป่าว (เฉลี่ยจากมาตรฐานระดับกลางนะครับ เพราะถ้าเป็นบริษัทแนวหน้าคงจะโดดมาก)
ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ....
             ปัญหาของผมคือปัจจุบันในระดับสถาปนิกชนชั้นกลางไม่สามารถเก็บค่าแบบได้ตาม ที่สมาคมกำหนดแม้เพียงครึ่งหนึ่ง (อย่าเพิ่งทักว่าทำแบบและบริการดีพอหรือ ยัง) จากการสำรวจข้อมูลรอบตัวแต่ยังไม่กว้างพอเลยอยากจะขอความเห็นเพื่อนร่วม วิชาชีพ
             เพราะหากเป็นอย่างนั้นต่อไปเราควรเสนองานเป็น Package หรือปล่าว เช่น บ้านทำราคาเท่านี้ อาคารพานิชย์ทำราคาเท่านี้ โรงแรมทำราคาเท่านี้ ร้านทำราคาเท่านี้ ฯลฯ
             น่าจะเป็นทางออกของความอยู่รอดหรือป่าว (และอย่าเพิ่งทักว่าจะเป็นการตัดราคาเพื่อนร่วมวิชาชีพ) เพราะที่ผ่านมาผมยึดเกณฑ์ของสมาคมเป็นหลัก หักลบประสบการณ์ยังเยาว์และไม่ใช่รูปแบบบริษัท เหลือไม่ถึงครึ่งตามที่สมาคมกำหนดก็คิดว่าเหมาะสมแล้ว ไม่วายโดนต่อราคา และโดนตัดราคา ด้วยความเป็นคนที่เชื่อฟังครูบาอาจารย์ ยึดในหลักจรรยาบรรณวิชาชีพ ทำให้หลายครั้งตัดใจไม่ลดค่าแบบแล้วก็ไม่ได้งาน หรือรับแล้ว ไม่จ่ายใต้โต๊ะ แบบ ก็ไปกองอยู่ในสถานที่สกปรก และคนสกปรก
            หรือตำราใช้ไม่ได้จริงกับโลกปัจจุบัน
            หรือคนเขียนตำราก็ทำไม่ได้เป็นเพียงแต่ตำราในอุดมคติ
            หรือต้องเป็นสถาปนิกชนชั้นสูงจึงสามารถเก็บค่าแบบตามตำราได้
            หรือสังคมยังไม่เข้าใจ ทำไมกลุ่มคนเขียนตำรา ไม่บอกสังคม หรือทำให้สังคมรับรู้
            หรือทำไมตำราไม่สอนวิธีอธิบายขั้นตอนการบอกให้ลูกค้าเข้าใจ จะได้ให้ Architectural Saleman เอาไปใช้เลย
            ทำไมตำรวจต้องเป็นโจร
            ทำไม อบต.รวยกว่าสถาปนิก
            อยากมีกินต้องเปลี่ยนอาชีพหรือป่าว
            *โปรดใช้วิจารณญาณและสติปัญญาในการตอบ หรือถ้าไม่อยากตอบก็อย่าตีรวน ไม่สร้างสรรค์อย่าเพิ่งทำลาย อยากเขียนให้อ่านเฉยๆ
Submitted by EI on Tue, 05/03/2005 - 23:18. www.asa.or.th
เมื่อได้อ่านแล้วก็อยากขอเล่าเรื่องการประกอบวิชาชีพของผมให้ฟังน่ะครับ จะเหมือนหรือแตกต่างจากใครอย่างไรก็แล้วแต่ครับ
1. ประเด็นเรื่องค่าออกแบบ เก็บเต็ม 7%สำหรับงานขนาดเล็ก และลดลงตามขนาดของงานแต่ไม่ต่ำกว่า 5% ซึ่งการเสนอค่าออกแบบจะคิดชั่วโมงทำงานแบบคาดการณ์ควบคู่ไปกับการส่ง% เสมอ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้แสดงชั่วโมงทำงานให้ลูกค้าทราบทุกรายไปแต่จะทำไว้ดูเป็น ข้อมูลพื้นฐานและใช้อธิบายให้ลูกค้าฟังครับ ส่วนค่าบริการอื่นๆที่นอกเหนือหน้าที่ถ้าสามารถทำได้โดยไม่เป็นภาระก็ยินดี ทำให้เนื่องจากเป็นผู้เข้าใจแบบตนเองมากกว่าใคร แต่หากมีค่าใช้จ่ายจะแจ้งให้ลูกค้าทราบและจัดเก็บเป็นระยะเช่นจัดเก็บราย เดือนหรือเมื่อครบมูลค่าหนึ่ง เช่นเมื่อค่าบริการถึงยอด 5,000 บาทก็ทำใบแจ้งขอเก็บค่าบริการเป็นต้นครับ การทิ้งค่าบริการไว้กับลูกค้านานเกินไปอาจเกิดความเข้าใจผิดได้ครับ เช่น 1. ผู้ออกแบบไม่คิดจะเก็บค่าบริการถือว่าเป็นบริการหลังการขาย
2. อยากนำเงินไปใช้อย่างอื่นมากกว่าให้สถาปนิก 3. เสียดายจังเงินเยอะนิ
3. มาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เรื่องจากรับงาน ทำแบบร่างอาจจะหลายรอบ ทำแบบขออนุญาต ทำแบบก่อสร้าง ทำรายการประกอบแบบ ทำรายการประมาณราคา ทำเอกสารจัดหาผู้รับเหมา เป็นที่ปรึกษาช่วยตรวจสอบและคัดเลือกผู้รับเหมา ตรวจสอบงาน ณ สถานที่ก่อสร้างในช่วงเวลาสำคัญๆ เป็นกรรมการตรวจการจ้าง( บางครั้ง ) ไปงานขึ้นบ้านใหม่ แวะไปรับคำชมหรือคำต่อว่าเป็นครั้งคราว
4. มาตรฐานราคาที่กำหนดขึ้นเป็นมาตรฐาน ที่สามารถดำเนินการให้มีประสิทธิภาพได้แต่ไม่ดีที่สุด ถ้าต่ำกว่านี้น่าจะขาดค่าใช้จ่ายบางส่วนไป อยากให้ลองสำรวจดูครับ ค่าบริการวิชาชีพเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วน่าจะเหลือติดกระเป๋า 10%-30% ซึ่งกำไรที่เหลือนี้ควรนำไปจัดสรรใช้ให้ได้สัดส่วน เช่น 1. จัดเป็นเงินออมระยะยาว(ฝากธนาคารหรือลงทุนความเสี่ยงต่ำ ) 2. ประกันชีวิต( จำเป็นนะครับ ) 3. การศึกษา 4. บันเทิง 5. ของขวัญให้ตัวเองในโอกาสสำคัญ 6. ใช้ดำเนินชีวิต เมื่อจัดสรรแล้วนำมาคิดว่าใน 1 งานจะสามารถพยุงชีวิตได้นานเท่าไรจากนั้นจะพอคาดการณ์ได้ว่าควรทำงานกี่ชิ้นและคิดค่าออกแบบเท่าไร
5. งานเอกสารเช่น สัยญาจ้างจะต้องละเอียดครบถ้วนตลอดกระบวนการออกแบบครับ อย่าลอกมั่วๆโดยไม่ใช้สมอง คิดก่อนส่งให้ลูกค้าเสมอให้มีจรรยาบรรณและยุติธรรมทั้ง 2 ฝ่าย
6. ค่า spec. แบบ โทรไปขอที่ร้านค้าหรือผุ้ผลิตได้แต่ให้ขอเป็นส่วนลดให้ลูกค้าเท่านั้น สุดท้ายแล้วเรื่องการกินค่า Spec จะไปถึงลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ทางใดก็ทางหนึ่งครับ และควร spec แบบโดยไม่เป็นแก่ความสาวความสวย มองที่คุณภาพสินค้าเป็นสำคัญ
7. การออกแบบ อย่าออกแบบแบบครั้งเดียวจบ ควรมีเวลาให้กับกระบวนการออกแบบมากเท่าที่จะมากได้เพราะจะเป้นการพัฒนาตน เองอย่างยิ่ง คิดมากๆทำมากๆ วันนึงจะเห็นว่าเรามีความชำนาญมากขึ้น กระบวนการอื่นๆค่อนข้างใช้เวลาตายตัวให้คุมเวลาให้ดี
8. ถ้าคิดว่าเป็นสถาปนิกอิสระแล้วจะอด ตายได้ ให้เข้าไปทำงานออฟฟิสก่อนสักระยะแล้วค่อยขยับขยาย ถ้ารู้ว่าไม่มีน้ำแล้วยังเดินเข้าไปในทะเลทราย ตายไปจะโทษใครดี
9. อย่าดื้อ อย่าเรื่องมาก ทำใจกว้างๆ ฟังมากๆคิดมากๆ พูดน้อยๆ
10. อย่าเมาแล้วขับ
วัตถุประสงค์การตั้งราคา
   1. เพื่อความอยู่รอด สูงไปไม่มีลูกค้า ต่ำไปก็ขาดทุน
   2. กำไรสูงสุด
   3. รายได้สูงสุด เพื่อหวัง market share ในระยะยาว
   4. เติบโตสูงสุด เพื่อให้เกิด economy of scale ในการผลิต
   5. maximum market skimming ตั้งให้ขายได้ราคาดีที่สุด ในแต่ละช่วงเวลา เช่นพวกสินค้า IT
   6. เพื่อความเป็นผู้นำด้านคุณภาพ
      ฯลฯ
ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาตั้งราคา
   1. ลูกค้า = ความต้องการ/อัตถประโยชน์/จิตวิทยา
   2. ภายใน = ต้นทุน/ผลกำไรที่ต้องการ
   3. คู่แข่ง = ส่วนแบ่งตลาด/การแข่งขัน
   4. สินค้าและบริการ = การแบ่งส่วนตลาด/ตำแหน่งผลิตภัณฑ์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Portfolio :

Architecture Design.


Interior Design.


Renovate Design


Architecture Dafting.


Interior Drafting.


Renovate Drafting.