แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ

มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2532

     ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อบังคับของสมาคมฯ เพื่อถือปฏิบัติทางวินัยตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ การกระทำใดๆ โดยสมาชิกของสมาคมฯที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งของมาตรฐานการ บัญญัติวิชาชีพที่สมาคมฯ ได้กำหนดไว้นี้ให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยทางวิชาชีพและสมาชิก ผู้นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาวินัยโดยสมาคมฯ

บทนำ 
    1. วิชาชีพสถาปัตยกรรม เป็นวิชาชีพที่ต้องการบุคคลผู้กอปรด้วยคุณธรรม วัฒนธรรม สติปัญญา ความสามารถสร้างสรรค์ และทักษะการให้บริการของสถาปนิก อาจรวมถึงการบริการใดๆ ที่ เหมาะสม ต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์ ทั้งนี้สถาปนิกต้องผดุงไว้ซึ่งคุณธรรม ในวิชาชีพของตน และการบริการของตนนั้นจะต้องมุ่งไปสู่จุดหมายในการสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อม ที่มีระเบียบและความงาม เจตนา และความสามารถของสถาปนิกต้องก่อให้เกิดการยกย่อง และความเชื่อมั่นเสมอไป สถาปนิกควรแสวงหาโอกาสที่จะให้บริการด้านสร้างสรรค์ในกิจการ สาธารณะ และต่อความเจริญก้าวหน้า ในด้านความปลอดภัย อนามัย ความงามและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชนในฐานะที่เป็นสถาปนิกจะต้องระลึกอยู่ เสมอว่าตนมีความผูกพันในทางศีลธรรมต่อสังคม ยิ่งกว่าที่มีกำหนดโดยกฎหมายหรือการปฏิบัติธุรกิจตน เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งมีภาระความรับผิดชอบอันสำคัญต่อสาธารณะ ดังนั้นในการปฏิบัติสนองความต้องการของลูกค้า สถาปนิกต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม 
    2. ความซื่อสัตย์ใน เจตนารมณ์ของสถาปนิกต้องอยู่เหนือความระแวงใดๆ สถาปนิกต้องให้บริการวิชาชีพแก่ลูกค้าของตน และกระทำการเป็นตัวแทนและผู้แนะนำของลูกค้าของตน คำแนะนำของสถาปนิกที่ให้แก่ลูกค้าต้องมีเหตุผล และไม่มีความลำเอียงใดๆ เจือปน ทั้งนี้ในฐานะที่ตนรับผิด ชอบต่อการให้คำวินิจฉัยอันเที่ยงธรรม ในการตีความเอกสารสัญญาต่างๆ 
    3. สถาปนิกทุกคนควรยินดีอุทิศเวลา และความสามารถเพื่อสนับสนุนความยุติธรรม ความเป็นผู้มีมรรยาทอันงาม และความจริงใจในวิชาชีพของตน สถาปนิกต้องบริหารและประสานความสามารถทางวิชาชีพของผู้ร่วมงาน ผู้อยู่ในบังคับบัญชาและที่ปรึกษา การกระทำของสถาปนิกต้องรอบคอบ สุขุม และทรงไว้ซึ่งความรู้

หมวดที่ 1
พันธกรณี

1.1 พันธกรณีต่อสาธารณะ
     1.1.1 สถาปนิกอาจเสนอบริการของตนต่อบุคคลใดๆ ได้โดยการคิดค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียม เงินเดือน ค่าลิขสิทธิ์ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป ในฐานะที่เป็นตัวแทน ที่ปรึกษาผู้แนะนำหรือผู้ช่วย ทั้งนี้สถาปนิกต้องผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
     1.1.2  สถาปนิกต้องปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพของตนด้วยความสามารถ และจะต้องสนองต่อผลประโยชน์ของลูกค้าของตน และสาธารณะอย่างถูกต้อง
     1.1.3 สถาปนิกต้องไม่โฆษณาตนเอง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ชื่อตนหรือผลงานของตนในเชิงยกย่อง โอ้อวดชักจูงให้หลงผิด เว้นจะเป็นเพียงการเผยแพร่ด้านวิชาการหรือเพื่อแสดงชื่อวุฒิตำแหน่งที่อยู่หรือสำนักงานของสถาปนิกเท่านั้น รวมทั้งไม่ประกาศรับรองสินค้าใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม
     1.1.4 สถาปนิกต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ และจะต้องเคารพธรรมเนียมและมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การหรือสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นนั้นๆ

1.2  พันธกรณีต่อลูกค้า
     1.2.1 สถาปนิกจะต้องให้บริการทางวิชาชีพอย่างมีคุณภาพพร้อมทั้งเป็นตัวแทนทางด้านวิชาการ คุ้มครองผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า และสิทธิ์ทั้งปวงของบุคคลต่างๆ ซึ่งมีในสัญญาให้สถาปนิกจัดการคำแนะนำ และคำวินิจฉัยของสถาปนิกจะต้องมีเหตุผลและเที่ยงธรรม
     1.2.2 การติดต่อของสถาปนิก ไม่ว่าด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ หรือเป็นภาพ ต้องมีความแน่นอน ชัดเจน
     1.2.3 สถาปนิกต้องไม่รับค่าตอบแทนใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน หรือในทางส่วนตัว เนื่องในการบริการวิชาชีพของตน จากบุคคลอื่นนอกเหนือจากลูกค้าหรือนายจ้างอันจะเป็นผลให้เกิดการประนีประนอมพันธกรณีของตนที่มีต่อลูกค้าหรือนายจ้างนั้นๆ
     1.2.4 สถาปนิกจะต้องไม่แสวงหาหรือตกลงรับทำงานโดยรับค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าความเหมาะสมตามคุณค่าของงานที่ตนตกลงจะทำให้กับลูกค้า จนเป็นเหตุให้ตนไม่สามารถจะให้บริการเต็มความรับผิดชอบที่มีต่อลูกค้าของตนและต่อสาธารณะ

1.3 พันธกรณีต่อวิชาชีพ
     1.3.1 สถาปนิกต้องไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะที่เป็นความเสียหายต่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของวิชาชีพ และควรร่วมทำงานเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การวิชาชีพของตน
     1.3.2 สถาปนิกจะต้องไม่ประทุษร้ายหรือพยายามประทุษร้ายไม่ว่าโดยรู้หรือโดยเห็นผิด หรือโดยเจตนาร้ายต่อชื่อเสียง โอกาสอันดี หรือวิธีปฏิบัติในทางวิชาชีพของสถาปนิกอื่น
     1.3.3 สถาปนิกต้องไม่พยายามแก่งแย่งงานจากสถาปนิกอื่นภายหลังที่ลูกค้าได้ตกลงว่าจ้างสถาปนิกอื่นนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว สถาปนิกต้องไม่เสนอตัวเข้ารับงานจนกว่าจะได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สถาปนิกอื่นนั้นได้ทราบความจริง และได้รับการบอกเล่าจากเจ้าของว่าได้เลิกจ้างสถาปนิกอื่นนั้นแล้ว
     1.3.4 สถาปนิกไม่พึงเสนอบริการของตนในการประกวดแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม หรือไม่ได้รับการรับรอง จากสมาคมฯ

1.4 พันธกรณีต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
      สถาปนิกต้องยินดีอุทิศเวลาความสามารถ กำลังกาย กำลังทรัพย์ร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนความยุติธรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนการยอมรับและให้การสนับสนุนส่งเสริมผลประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพออกแบบและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

1.5 การประกาศใช้บังคับ
      1.5.1 มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ประกาศใช้บังคับเพื่อส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมอันสูงสุดสำหรับวิชาชีพสถาปัตยกรรม ดังนั้นการตีความบรรดาหน้าที่ทั้งปวงที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้ จึงไม่ควรบิดเบือนอันเป็นการปฏิเสธหน้าที่อื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญบังคับอยู่ทัดเทียมกัน แม้จะมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม นอกจากนั้นการบัญญัติถึงพันธกรณีภายใต้หัวข้อใดๆ ข้างต้นจะต้องไม่บิดเบือนให้เป็นการขัดกับการใช้บังคับบทบัญญัติดังกล่าวแก่กลุ่มบุคคลที่ระบุไว้ เพราะพันธกรณีบางอย่างก็ใช้บังคับได้อย่างกว้าง และที่บัญญัติไว้เฉพาะกลุ่มก็เพียงเพื่อความสะดวก และเน้นให้เห็นชัดเท่านั้น ความมุ่งหมายเบื้องต้นของการดำเนินการทางวินัยภายใต้มาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ก็เพื่อป้องกันสาธารณะ และวิชาชีพ
     1.5.2 โดยที่การยึดมั่นในหลักการที่ระบุไว้นี้เป็นพันธกรณีของสมาชิกทุกคนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ การปฏิบัติให้ผิดแผกไปจากหลักการดังกล่าวนี้ จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามส่วนแห่งความร้ายแรงของการกระทำนั้น
     1.5.3 คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ มีอำนาจโดยเด็ดขาดในการตีความมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ และคำวินิจฉัยของกรรมการย่อมเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของระเบียบของสมาคมฯ
หมวดที่ 2
การบริการขั้นมูลฐาน

     เพื่อเป็นหลักในการให้บริการของสถาปนิกในการปฏิบัติวิชาชีพและเพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งระหว่างเจ้าของงานและสถาปนิกสมาคมฯ ได้กำหนดมาตรฐานการบริการขั้นมูลฐาน โดยแบ่งขั้นตอนการบริการของสถาปนิกเป็น 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

2.1 การวางเค้าโครงการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น

                สถาปนิกจะศึกษาโครงการตามข้อมูลที่เจ้าของงานมอบให้ และข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จะจัดวางเค้าโครงการออกแบบพร้อมทั้งออกแบบร่างขั้นต้นเพื่อเสนอแก่เจ้าของงาน เอกสารที่สถาปนิกจะต้องเสนอให้เจ้าของงานพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
     2.1.1 แบบร่างผังบริเวณแสดงความสัมพันธ์ของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารกับบริเวณข้างเคียง
     2.1.2 แบบร่างตัวอาคาร ประกอบด้วยแบบแปลนคร่าวๆ ทุกชั้น รูปตั้ง และรูปตัดโดยสังเขป
     2.1.3 เอกสารที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา
     2.1.4 ประมาณการราคาก่อสร้างตามขั้นตอนนี้

2.2 การออกแบบร่างขั้นสุดท้าย
      สถาปนิกจะใช้ข้อมูลที่ได้รับอนุมัติจากการออกแบบร่างขั้นต้น ตามข้อ 2.1 เพื่อออกแบบร่างขั้นสุดท้ายเสนอแก่เจ้าของงาน เอกสารที่สถาปนิกจะต้องเสนอให้เจ้าของงานเห็นชอบ และอนุมัติตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
      2.2.1 แบบร่างผังบริเวณแสดงความสัมพันธ์ของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารกับบริเวณข้างเคียง ตลอดจนความสัมพันธ์ของระบบสาธารณูปโภคใกล้เคียงที่จำเป็น
      2.2.2 แบบร่างตัวอาคาร ประกอบด้วยรายละเอียดของแปลนทุกชั้น รูปตัด และแบบอื่นๆที่จำเป็น
      2.2.3 แบบร่างแสดงระบบวิศวกรรมทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเฉพาะสาขาที่ตกลงกัน
      2.2.4 รายละเอียดวัสดุ และอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับโครงการนี้พอสังเขป
      2.2.5 เอกสารอื่นๆที่จำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณา
      2.2.6 ประมาณการราคาก่อสร้างตามขั้นตอนที่สอง

2.3 การทำรายละเอียดการก่อสร้าง 
      หลังจากแบบร่างขั้นตอนสุดท้ายได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงานแล้ว สถาปนิกจะจัดทำรายละเอียดก่อสร้างเพื่อใช้เป็นเอกสารสัญญาและเอกสารขออนุญาต เอกสารที่สถาปนิกจะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าของงานตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
      2.3.1 แบบสถาปัตยกรรมซึ่งประกอบด้วย
               · แบบแสดงผังบริเวณ และระบบสาธารณูปโภคภายนอกอาคาร
               · แบบแสดงแปลนทุกชั้น
               · แบบแสดงรูปทั้ง 4 ด้าน
               · แบบแสดงรูปตัดอย่างน้อย 2 รูป
               · แบบแสดงรายละเอียด และแบบขยายต่างๆที่จำเป็น
       2.3.2 แบบวิศวกรรมโครงสร้าง พร้อมรายละเอียด และรายการคำนวณ
       2.3.3 แบบวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเฉพาะสาขาที่ตกลงกัน พร้อมเอกสารที่จำเป็น
       2.3.4 รายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง
       2.3.5 ประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง

2.4 ประกวดราคา  
      สถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการประกวดราคาดังต่อไปนี้
      2.4.1 จัดทำประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง
      2.4.2 จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา
      2.4.3 ให้คำแนะนำในการตรวจสอบใบเสนอราคาของผู้รับจ้างก่อสร้าง
      2.4.4 ให้คำแนะนำในการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
      2.4.5 จัดเตรียมเอกสารสัญญา

2.5 การก่อสร้าง 
       สถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบ และเอกสารสัญญาดังต่อไปนี้
      2.5.1 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้างเป็นครั้งคราว และรายงานให้เจ้าของงานทราบในกรณีที่จำเป็น
      2.5.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
      2.5.3 ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ควบคุมงานของเจ้าของงาน เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบและเอกสารสัญญา
     2.5.4 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมความจำเป็น
      2.5.5 ตรวจและอนุมัติแบบใช้งาน และวัสดุและอุปกรณ์ตัวอย่าง ก่อนนำเสนอผู้ว่าจ้าง

2.6 การส่งมอบเอกสาร 
      สถาปนิกจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.1  และ 2.2 จำนวน 5 ชุด และจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.3 จำนวน 10 ชุด ให้แก่เจ้าของงานในกรณีที่เจ้าของงานต้องการเอกสารมากกว่าที่กำหนด  สถาปนิกจะเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสารเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายจริง
หมวดที่ 3
ค่าบริการทางวิชาชีพขั้นพื้นฐาน

      สมาคมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าบริการวิชาชีพไว้ 2 วิธี คือ คิดจากอัตราร้อยละ และคิดจากเวลาทำงาน ดังมีรายละเอียดในการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

3.1 การคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละ  สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละของค่าก่อสร้างสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป โดยคำนวณจากตารางหมายเลข 1 “ อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” เป็นหลักการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพตามข้อนี้ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
      3.1.1 งานก่อสร้างโดยทั่วไป การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไป ให้คำนวณจากอัตราร้อยละตามระบุในตารางหมายเลข 1 “อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า

ตัวอย่างอาคารประเภท 4 ราคาก่อสร้าง 35 ล้านบาท ให้คำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้

                                   10 ล้านบาทแรก     อัตราร้อยละ 6.50 เป็นเงิน        650,000    บาท

                                   20 ล้านบาทถัดไป   อัตราร้อยละ 5.50 เป็นเงิน     1,100,000    บาท

                                     5 ล้านบาทที่เหลือ อัตราร้อยละ 4.75 เป็นเงิน        237,500    บาท

                                                                  รวมเป็นค่าบริการทั้งสิ้น     1,987,500    บาท

       3.1.2 งานก่อสร้างต่อเติม* การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างต่อเติม ให้คิดค่าบริการเป็น 1.1 เท่า ของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1* งานก่อสร้างต่อเติม หมายถึงการออกแบบงานก่อสร้างต่อเติมอาคารที่มีอยู่แล้ว และการก่อสร้างต่อเติมจำเป็นจะต้องแก้ไขระบบ โครงสร้างของอาคารเดิมบางส่วน และหรือจำเป็นจะต้องแก้ไขประโยชน์ใช้สอยของอาคารเดิมบางส่วน
       3.1.3 งานก่อสร้างดัดแปลง** การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างดัดแปลงให้คิดค่าบริการเป็น 1.4 เท่าของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1

**  งานก่อสร้างดัดแปลง  หมายถึงการดัดแปลงแก้ไขประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารที่มีอยู่แล้วจะโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระบบโครงสร้างหรือไม่ก็ตาม

       3.1.4 งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกัน งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกันโดยไม่ต้องเขียนแบบใหม่ และทำการก่อสร้างในบริเวณเดียวกัน ให้คิดค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้
                · หลังที่ 1 คิดค่าบริการ 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1
                · หลังที่ 2 คิดค่าบริการ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1
                · หลังที่ 3 ถึงหลังที่ 5 คิดค่าบริการหลังละ 25 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1
                · หลังที่ 6 ถึง หลังที่ 10 คิดค่าบริการหลังละ 20 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1
                · ตั้งแต่หลังที่ 11 ขึ้นไปคิดค่าบริการหลังละ 15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1

3.2  การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงาน  การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาการทำงานนี้ ให้ใช้เฉพาะงานที่ไม่สามารถคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละตามข้อ 3.1 ได้ เช่น การจัดทำผังแม่บท การให้คำปรึกษา การอำนวยการก่อสร้างเป็นต้น
       การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงานนี้ให้คำนวณจากอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ คูณ ด้วยเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโครงการนี้และบวกด้วยค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ
      3.2.1 อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่นี้รวมถึงค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าสวัสดิการพนักงาน และค่าดำเนินงานสำนักงาน ซึ่งโดยปกติอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ จะมีค่าเท่ากับ 2.145- 2.5 เท่าของอัตราเงินเดือนพนักงานนั้นๆ (ค่าสวัสดิการพนักงานประมาณ 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน ค่าดำเนินงานสำนักงานประมาณ 60 – 90 เปอร์เซ็นและค่ากำไร 10 เปอร์เซ็นต์)
      3.2.2 ค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ จะสถาปนิกจะคำนวณค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ ตามที่สถาปนิกจะต้องจ่ายสำหรับการให้บริการตามโครงการนี้ เพิ่มจากบริการวิชาชีพตามเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 3.2.1 ดังต่อไปนี้
               · ค่าพิมพ์แบบและเอกสารอื่นๆ
               · ค่าเดินงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก
               · ค่าติดต่อสื่อสาร
               · ค่าจัดเตรียมประมาณการราคากลาง
               · ค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นจำลอง
               · ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรฐกิจ
               · ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่นๆ ที่จำเป็น
               · ค่าสำรวจทางสนาม
               · ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สถาปนิกสามารถแสดงหลักฐานแก่เจ้าของงาน

3.3 การจ่ายเงินค่าบริการวิชาชีพ สถาปนิกจะเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพเป็นงวดๆ ดังต่อไปนี้
      งวดที่ 1      อัตราร้อยละ 5 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกตกลงเข้ารับทำงาน
      งวดที่ 2  อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารการวางเค้าโครงการออกแบบ และการออกแบบร่างขั้นต้น ตามระบุในข้อ 2.1
      งวดที่ 3      อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารแบบร่างขั้นสุดท้าย ตามระบุในข้อ 2.2
      งวดที่ 4      อัตราร้อยละ 40 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
      งวดที่ 5      อัตราร้อยละ 15 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
      *หมายเหตุ  การเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 1 ให้คำนวณจากประมาณการราคากลางที่เจ้าของงานกำหนด งวดที่ 2 ถึง     งวดที่ 4 ให้คำนวณจากประมาณการราคาค่าก่อสร้างที่สถาปนิกจัดทำตามข้อ 2.1.4 เงินค่าบริการวิชาชีพจ่ายแล้วทั้ง 4 งวด และเงินส่วนที่เหลือ  สถาปนิกจะแก้ไขจำนวนเงินให้ถูกต้องเมื่อทราบราคาค่าก่อสร้าง 3.4 การคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน  สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพ เพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐานในกรณีดังต่อไปนี้

     3.1.1 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะให้สถาปนิกเกินกว่า 1 สำนักงานร่วมปฏิบัติในโครงการเดียวกัน  สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลพื้นฐานอีกร้อยละ 25
     3.1.2 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะแยกงานวิศวกรรมสาขาหนึ่งสาขาใด  หรือทุกสาขาไปให้สำนักงานอื่นดำเนินการสถาปนิกมีหน้าที่เพียงเพื่อประสานงานเท่านั้น สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพในการประสานงานเท่ากับร้อยละ 30   ของค่าบริการวิชาชีพในสาขานั้น ๆ
     3.1.3 ในกรณีที่เจ้าของงานเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนรายละเอียดให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ละขั้นตอน  สถาปนิกจะได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริงที่สถาปนิกจะต้องเสียไป  โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
     3.1.4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก  สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามโครงการนี้  ในกรณีที่จำเป็นจะต้องเดินทางออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร  รวมทั้งค่าติดต่อสื่อสารด้วย
     3.1.5 ค่าบริการพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการบริการขั้นมูลฐานตามระบุในหมวดที่ 2 สถาปนิกจะคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริง  โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
ประเภทของงาน

งานประเภทที่ 1 การออกแบบตกแต่งภายใน  การออกแบบผลิตภัณฑ์สถาปัตยกรรมและครุภัณฑ์
งานประเภทที่ 2 พิพิธภัณฑ์  อนุสาวรีย์   อาคารอนุสรณ์ที่มีแผนแบบวิจิตร   อาคารทางศาสนา  (วัด โบสถ์ วิหาร)
งานประเภทที่ 3 บ้านพักอาศัย  อาคารประเภทโรงเรือนสลับซับซ้อนที่มีส่วนใช้สอยของอาคารหลายๆ ประเภทรวมกันตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไป  ทั้งนี้ไม่นับรวมงานประเภทที่ 1  และงานภูมิสถาปัตย์
งานประเภทที่ 4 โรงพยาบาล อาคารห้องปฏิบัติการ รัฐสภา ศาลาท้องถิ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอสมุด โรงแรม โมเต็ล ธนาคาร อาคาร ชุดพักอาศัย โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม
งานประเภทที่ 5 อาคารสำนักงาน อาคารสรรพสินค้า สถานที่กักกัน สถานพักฟื้น หอพัก โรงเรียน อาคารอุตสาหกรรม สถานบริการรถยนต์
งานประเภทที่ 6อัฒจันทร์ โรงพัสดุ คลังสินค้า อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด


ตารางหมายเลข 1 อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐาน
_______________________________________________________________
ประเภท          ไม่เกิน    สิบล้านถึง  30 ล้านถึง  50ล้านถึง  100 ล้านถึง  200 ล้าน      500 ล้าน
ของงาน        สิบล้าน     30 ล้าน     50 ล้าน    100 ล้าน     200 ล้าน   ถึง500 ล้าน     ขึ้นไ
ประเภท 1      10.00       7.75        6.50         6.00          5.25           4.50           3.70 
ประเภท 2        8.50       6.75        5.75         5.50          4.75           4.25           3.60
ประเภท 3       
7.50       6.00        5.25         5.00          4.50           4.00           3.50
ประเภท 4       
6.50       5.50        4.75         4.50          4.25           3.75           3.40
ประเภท 5        5.50       4.75        4.50         4.25          4.00           3.50           3.30 
ประเภท 6        4.50       4.25        4.00         3.75          3.50           3.25           3.20

หมวดที่ 4
หน้าที่ของเจ้าของงาน

       นอกจากความรับผิดชอบตามที่ระบุในหมวดที่ 2 หมวดที่ 3 และในข้อตกลงระหว่างสถาปนิก และเจ้าของงานแล้ว เจ้าของงานมีหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูล และดำเนินงานต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้งานออกแบบและก่อสร้างงานตามโครงการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

4.1 การจัดเตรียมโครงการ 
      เจ้าของงานจะจัดเตรียมโครงการและวัตถุประสงค์ของงานก่อสร้างที่จะให้สถาปนิกดำเนินงานออกแบบ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดดังต่อไปนี้
      4.1.1 รายละเอียดของเจ้าหน้าที่ และพื้นที่ใช้สอยของแต่ละหน่วยงาน
      4.1.2 รายละเอียดความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานของแต่ละหน่วยงาน
      4.1.3 รายละเอียดการจัดทำงบประมาณค่าก่อสร้าง
      4.1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองและสภาพที่ดิน
      4.1.5 รายละเอียดการสำรวจสภาพชั้นดิน
      4.1.6 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ และก่อสร้างงานตามโครงการ

4.2 การให้ความร่วมมือกับสถาปนิก
      เจ้าของงานหรือผู้แทนที่เจ้าของงานแต่งตั้งจะให้ความร่วมมือกับสถาปนิก ในการตรวจเอกสารต่างๆ ซึ่งยื่นเสนอโดยสถาปนิก และพิจารณาตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องในเวลาอันเหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความล่าช้ากับการดำเนินงานของสถาปนิก

4.3 การขออนุญาต
      เจ้าของงานจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และการขออนุญาตต่างๆ จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยสถาปนิกจะเป็นผู้จัดเตรียมแบบแปลน และรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับแบบแปลนเพื่อใช้ในการขออนุญาต

4.4 การควบคุมงานก่อสร้าง
      เจ้าของงานมีหน้าที่ในการจัดหาผู้ควบคุมงานก่อสร้างมาประจำที่สถานที่ก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างตามระบุในข้อ 2.5
หมวดที่ 5
กรรมสิทธิ์ในแบบและการล้มเลิกโครงการ

5.1 กรรมสิทธิ์ในแบบและเอกสารต่างๆ
      กรรมสิทธิ์ในแบบและเอกสารทั้งหมดเป็นของสถาปนิก ไม่ว่างานก่อสร้างในโครงการ นั้น จะดำเนินการก่อสร้างหรือไม่เจ้าของงานจะนำแบบแปลนรายละเอียดของงานก่อสร้างนี้ไปดำเนินการก่อสร้างในโครงการอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาปนิก และสถาปนิกจะไม่นำแบบแปลนรายละเอียดของงานก่อสร้างนี้ไปใช้ในโครงการอื่น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงาน

5.2 การล้มเลิกโครงการ
      ในกรณีที่เจ้าของงานล้มเลิกโครงการทั้งหมดหรือระงับโครงการโดยไม่มีกำหนดเวลา สถาปนิกมีสิทธิได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากที่ได้รับไปแล้ว เท่ากับผลงานที่สถาปนิกได้ดำเนินการไปแล้วก่อนที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงาน

 
Portfolio :

Architecture Design.


Interior Design.


Renovate Design


Architecture Dafting.


Interior Drafting.


Renovate Drafting.


pinterest-site-verification=eb477a7923450953ad8fabd8b0911358