มาตรฐานการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม พ.ศ. 2532
ได้กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นข้อบังคับของสมาคมฯ เพื่อถือปฏิบัติทางวินัยตามมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ การกระทำใดๆ โดยสมาชิกของสมาคมฯที่แตกต่างไปจากบทบัญญัติข้อใดข้อหนึ่งของมาตรฐานการ บัญญัติวิชาชีพที่สมาคมฯ ได้กำหนดไว้นี้ให้ถือว่าสมาชิกผู้นั้นได้กระทำผิดวินัยทางวิชาชีพและสมาชิก ผู้นั้นจะต้องได้รับการพิจารณาวินัยโดยสมาคมฯ
บทนำ
1. วิชาชีพสถาปัตยกรรม เป็นวิชาชีพที่ต้องการบุคคลผู้กอปรด้วยคุณธรรม วัฒนธรรม สติปัญญา ความสามารถสร้างสรรค์ และทักษะการให้บริการของสถาปนิก อาจรวมถึงการบริการใดๆ ที่ เหมาะสม ต่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของมนุษย์ ทั้งนี้สถาปนิกต้องผดุงไว้ซึ่งคุณธรรม ในวิชาชีพของตน และการบริการของตนนั้นจะต้องมุ่งไปสู่จุดหมายในการสร้างสรรค์ สิ่งแวดล้อม ที่มีระเบียบและความงาม เจตนา และความสามารถของสถาปนิกต้องก่อให้เกิดการยกย่อง และความเชื่อมั่นเสมอไป สถาปนิกควรแสวงหาโอกาสที่จะให้บริการด้านสร้างสรรค์ในกิจการ สาธารณะ และต่อความเจริญก้าวหน้า ในด้านความปลอดภัย อนามัย ความงามและความเป็นอยู่ที่ดีแก่ชุมชนในฐานะที่เป็นสถาปนิกจะต้องระลึกอยู่ เสมอว่าตนมีความผูกพันในทางศีลธรรมต่อสังคม ยิ่งกว่าที่มีกำหนดโดยกฎหมายหรือการปฏิบัติธุรกิจตน เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ ซึ่งมีภาระความรับผิดชอบอันสำคัญต่อสาธารณะ ดังนั้นในการปฏิบัติสนองความต้องการของลูกค้า สถาปนิกต้องคำนึงถึงผลประโยชน์สาธารณะและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม
2. ความซื่อสัตย์ใน เจตนารมณ์ของสถาปนิกต้องอยู่เหนือความระแวงใดๆ สถาปนิกต้องให้บริการวิชาชีพแก่ลูกค้าของตน และกระทำการเป็นตัวแทนและผู้แนะนำของลูกค้าของตน คำแนะนำของสถาปนิกที่ให้แก่ลูกค้าต้องมีเหตุผล และไม่มีความลำเอียงใดๆ เจือปน ทั้งนี้ในฐานะที่ตนรับผิด ชอบต่อการให้คำวินิจฉัยอันเที่ยงธรรม ในการตีความเอกสารสัญญาต่างๆ
3. สถาปนิกทุกคนควรยินดีอุทิศเวลา และความสามารถเพื่อสนับสนุนความยุติธรรม ความเป็นผู้มีมรรยาทอันงาม และความจริงใจในวิชาชีพของตน สถาปนิกต้องบริหารและประสานความสามารถทางวิชาชีพของผู้ร่วมงาน ผู้อยู่ในบังคับบัญชาและที่ปรึกษา การกระทำของสถาปนิกต้องรอบคอบ สุขุม และทรงไว้ซึ่งความรู้
หมวดที่ 1
พันธกรณี
พันธกรณี
1.1 พันธกรณีต่อสาธารณะ
1.1.1 สถาปนิกอาจเสนอบริการของตนต่อบุคคลใดๆ ได้โดยการคิดค่าตอบแทน ค่าธรรมเนียม เงินเดือน ค่าลิขสิทธิ์ตามมาตรฐานที่ยอมรับกันทั่วไป ในฐานะที่เป็นตัวแทน ที่ปรึกษาผู้แนะนำหรือผู้ช่วย ทั้งนี้สถาปนิกต้องผดุงไว้ซึ่งคุณธรรมแห่งวิชาชีพอย่างเคร่งครัด
1.1.2 สถาปนิกต้องปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพของตนด้วยความสามารถ และจะต้องสนองต่อผลประโยชน์ของลูกค้าของตน และสาธารณะอย่างถูกต้อง
1.1.3 สถาปนิกต้องไม่โฆษณาตนเอง หรือยอมให้ผู้อื่นใช้ชื่อตนหรือผลงานของตนในเชิงยกย่อง โอ้อวดชักจูงให้หลงผิด เว้นจะเป็นเพียงการเผยแพร่ด้านวิชาการหรือเพื่อแสดงชื่อวุฒิตำแหน่งที่อยู่หรือสำนักงานของสถาปนิกเท่านั้น รวมทั้งไม่ประกาศรับรองสินค้าใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม
1.1.4 สถาปนิกต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศ และจะต้องเคารพธรรมเนียมและมาตรฐานที่กำหนดโดยองค์การหรือสมาคมวิชาชีพสถาปัตยกรรมของท้องถิ่นนั้นๆ
1.2 พันธกรณีต่อลูกค้า
1.2.1 สถาปนิกจะต้องให้บริการทางวิชาชีพอย่างมีคุณภาพพร้อมทั้งเป็นตัวแทนทางด้านวิชาการ คุ้มครองผลประโยชน์ให้แก่ลูกค้า และสิทธิ์ทั้งปวงของบุคคลต่างๆ ซึ่งมีในสัญญาให้สถาปนิกจัดการคำแนะนำ และคำวินิจฉัยของสถาปนิกจะต้องมีเหตุผลและเที่ยงธรรม
1.2.2 การติดต่อของสถาปนิก ไม่ว่าด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ หรือเป็นภาพ ต้องมีความแน่นอน ชัดเจน
1.2.3 สถาปนิกต้องไม่รับค่าตอบแทนใดๆ ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางการเงิน หรือในทางส่วนตัว เนื่องในการบริการวิชาชีพของตน จากบุคคลอื่นนอกเหนือจากลูกค้าหรือนายจ้างอันจะเป็นผลให้เกิดการประนีประนอมพันธกรณีของตนที่มีต่อลูกค้าหรือนายจ้างนั้นๆ
1.2.4 สถาปนิกจะต้องไม่แสวงหาหรือตกลงรับทำงานโดยรับค่าตอบแทนที่ต่ำกว่าความเหมาะสมตามคุณค่าของงานที่ตนตกลงจะทำให้กับลูกค้า จนเป็นเหตุให้ตนไม่สามารถจะให้บริการเต็มความรับผิดชอบที่มีต่อลูกค้าของตนและต่อสาธารณะ
1.3 พันธกรณีต่อวิชาชีพ
1.3.1 สถาปนิกต้องไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะที่เป็นความเสียหายต่อผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของวิชาชีพ และควรร่วมทำงานเพื่อส่งเสริมผลประโยชน์ขององค์การวิชาชีพของตน
1.3.2 สถาปนิกจะต้องไม่ประทุษร้ายหรือพยายามประทุษร้ายไม่ว่าโดยรู้หรือโดยเห็นผิด หรือโดยเจตนาร้ายต่อชื่อเสียง โอกาสอันดี หรือวิธีปฏิบัติในทางวิชาชีพของสถาปนิกอื่น
1.3.3 สถาปนิกต้องไม่พยายามแก่งแย่งงานจากสถาปนิกอื่นภายหลังที่ลูกค้าได้ตกลงว่าจ้างสถาปนิกอื่นนั้นเป็นที่แน่นอนแล้ว สถาปนิกต้องไม่เสนอตัวเข้ารับงานจนกว่าจะได้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สถาปนิกอื่นนั้นได้ทราบความจริง และได้รับการบอกเล่าจากเจ้าของว่าได้เลิกจ้างสถาปนิกอื่นนั้นแล้ว
1.3.4 สถาปนิกไม่พึงเสนอบริการของตนในการประกวดแข่งขันที่ไม่ยุติธรรม หรือไม่ได้รับการรับรอง จากสมาคมฯ
1.4 พันธกรณีต่อวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
สถาปนิกต้องยินดีอุทิศเวลาความสามารถ กำลังกาย กำลังทรัพย์ร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนับสนุนความยุติธรรม การเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ ตลอดจนการยอมรับและให้การสนับสนุนส่งเสริมผลประโยชน์ในการประกอบวิชาชีพออกแบบและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
1.5 การประกาศใช้บังคับ
1.5.1 มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ประกาศใช้บังคับเพื่อส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมอันสูงสุดสำหรับวิชาชีพสถาปัตยกรรม ดังนั้นการตีความบรรดาหน้าที่ทั้งปวงที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้ จึงไม่ควรบิดเบือนอันเป็นการปฏิเสธหน้าที่อื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญบังคับอยู่ทัดเทียมกัน แม้จะมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม นอกจากนั้นการบัญญัติถึงพันธกรณีภายใต้หัวข้อใดๆ ข้างต้นจะต้องไม่บิดเบือนให้เป็นการขัดกับการใช้บังคับบทบัญญัติดังกล่าวแก่กลุ่มบุคคลที่ระบุไว้ เพราะพันธกรณีบางอย่างก็ใช้บังคับได้อย่างกว้าง และที่บัญญัติไว้เฉพาะกลุ่มก็เพียงเพื่อความสะดวก และเน้นให้เห็นชัดเท่านั้น ความมุ่งหมายเบื้องต้นของการดำเนินการทางวินัยภายใต้มาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ก็เพื่อป้องกันสาธารณะ และวิชาชีพ
1.5.2 โดยที่การยึดมั่นในหลักการที่ระบุไว้นี้เป็นพันธกรณีของสมาชิกทุกคนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ การปฏิบัติให้ผิดแผกไปจากหลักการดังกล่าวนี้ จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามส่วนแห่งความร้ายแรงของการกระทำนั้น
1.5.3 คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ มีอำนาจโดยเด็ดขาดในการตีความมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ และคำวินิจฉัยของกรรมการย่อมเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของระเบียบของสมาคมฯ
1.5 การประกาศใช้บังคับ
1.5.1 มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ประกาศใช้บังคับเพื่อส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรมอันสูงสุดสำหรับวิชาชีพสถาปัตยกรรม ดังนั้นการตีความบรรดาหน้าที่ทั้งปวงที่ระบุไว้ในมาตรฐานนี้ จึงไม่ควรบิดเบือนอันเป็นการปฏิเสธหน้าที่อื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญบังคับอยู่ทัดเทียมกัน แม้จะมิได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งก็ตาม นอกจากนั้นการบัญญัติถึงพันธกรณีภายใต้หัวข้อใดๆ ข้างต้นจะต้องไม่บิดเบือนให้เป็นการขัดกับการใช้บังคับบทบัญญัติดังกล่าวแก่กลุ่มบุคคลที่ระบุไว้ เพราะพันธกรณีบางอย่างก็ใช้บังคับได้อย่างกว้าง และที่บัญญัติไว้เฉพาะกลุ่มก็เพียงเพื่อความสะดวก และเน้นให้เห็นชัดเท่านั้น ความมุ่งหมายเบื้องต้นของการดำเนินการทางวินัยภายใต้มาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ ก็เพื่อป้องกันสาธารณะ และวิชาชีพ
1.5.2 โดยที่การยึดมั่นในหลักการที่ระบุไว้นี้เป็นพันธกรณีของสมาชิกทุกคนของสมาคมสถาปนิกสยามฯ การปฏิบัติให้ผิดแผกไปจากหลักการดังกล่าวนี้ จะต้องได้รับการพิจารณาทางวินัยตามส่วนแห่งความร้ายแรงของการกระทำนั้น
1.5.3 คณะกรรมการบริหารสมาคมสถาปนิกสยามฯ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบอำนาจ มีอำนาจโดยเด็ดขาดในการตีความมาตรฐานปฏิบัติวิชาชีพเหล่านี้ และคำวินิจฉัยของกรรมการย่อมเป็นที่สิ้นสุด ทั้งนี้ภายใต้ข้อบังคับของระเบียบของสมาคมฯ
หมวดที่ 2
การบริการขั้นมูลฐาน
การบริการขั้นมูลฐาน
เพื่อเป็นหลักในการให้บริการของสถาปนิกในการปฏิบัติวิชาชีพและเพื่อขจัดปัญหาโต้แย้งระหว่างเจ้าของงานและสถาปนิกสมาคมฯ ได้กำหนดมาตรฐานการบริการขั้นมูลฐาน โดยแบ่งขั้นตอนการบริการของสถาปนิกเป็น 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
2.1 การวางเค้าโครงการออกแบบและการออกแบบร่างขั้นต้น
สถาปนิกจะศึกษาโครงการตามข้อมูลที่เจ้าของงานมอบให้ และข้อมูลเกี่ยวกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับโครงการ จะจัดวางเค้าโครงการออกแบบพร้อมทั้งออกแบบร่างขั้นต้นเพื่อเสนอแก่เจ้าของงาน เอกสารที่สถาปนิกจะต้องเสนอให้เจ้าของงานพิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
2.1.1 แบบร่างผังบริเวณแสดงความสัมพันธ์ของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารกับบริเวณข้างเคียง
2.1.2 แบบร่างตัวอาคาร ประกอบด้วยแบบแปลนคร่าวๆ ทุกชั้น รูปตั้ง และรูปตัดโดยสังเขป
2.1.3 เอกสารที่จำเป็นอื่นๆ เพื่อประกอบการพิจารณา
2.1.4 ประมาณการราคาก่อสร้างตามขั้นตอนนี้
2.2 การออกแบบร่างขั้นสุดท้าย
สถาปนิกจะใช้ข้อมูลที่ได้รับอนุมัติจากการออกแบบร่างขั้นต้น ตามข้อ 2.1 เพื่อออกแบบร่างขั้นสุดท้ายเสนอแก่เจ้าของงาน เอกสารที่สถาปนิกจะต้องเสนอให้เจ้าของงานเห็นชอบ และอนุมัติตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
2.2.1 แบบร่างผังบริเวณแสดงความสัมพันธ์ของอาคาร หรือกลุ่มของอาคารกับบริเวณข้างเคียง ตลอดจนความสัมพันธ์ของระบบสาธารณูปโภคใกล้เคียงที่จำเป็น
2.2.2 แบบร่างตัวอาคาร ประกอบด้วยรายละเอียดของแปลนทุกชั้น รูปตัด และแบบอื่นๆที่จำเป็น
2.2.3 แบบร่างแสดงระบบวิศวกรรมทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือเฉพาะสาขาที่ตกลงกัน
2.2.4 รายละเอียดวัสดุ และอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับโครงการนี้พอสังเขป
2.2.5 เอกสารอื่นๆที่จำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณา
2.2.6 ประมาณการราคาก่อสร้างตามขั้นตอนที่สอง
2.3 การทำรายละเอียดการก่อสร้าง
หลังจากแบบร่างขั้นตอนสุดท้ายได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงานแล้ว สถาปนิกจะจัดทำรายละเอียดก่อสร้างเพื่อใช้เป็นเอกสารสัญญาและเอกสารขออนุญาต เอกสารที่สถาปนิกจะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าของงานตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
2.3.1 แบบสถาปัตยกรรมซึ่งประกอบด้วย
· แบบแสดงผังบริเวณ และระบบสาธารณูปโภคภายนอกอาคาร
· แบบแสดงแปลนทุกชั้น
· แบบแสดงรูปทั้ง 4 ด้าน
· แบบแสดงรูปตัดอย่างน้อย 2 รูป
· แบบแสดงรายละเอียด และแบบขยายต่างๆที่จำเป็น
2.3.2 แบบวิศวกรรมโครงสร้าง พร้อมรายละเอียด และรายการคำนวณ
2.3.3 แบบวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเฉพาะสาขาที่ตกลงกัน พร้อมเอกสารที่จำเป็น
2.3.4 รายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง
2.3.5 ประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง
2.4 ประกวดราคา
2.2.4 รายละเอียดวัสดุ และอุปกรณ์ที่จะใช้สำหรับโครงการนี้พอสังเขป
2.2.5 เอกสารอื่นๆที่จำเป็น เพื่อประกอบการพิจารณา
2.2.6 ประมาณการราคาก่อสร้างตามขั้นตอนที่สอง
2.3 การทำรายละเอียดการก่อสร้าง
หลังจากแบบร่างขั้นตอนสุดท้ายได้รับอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงานแล้ว สถาปนิกจะจัดทำรายละเอียดก่อสร้างเพื่อใช้เป็นเอกสารสัญญาและเอกสารขออนุญาต เอกสารที่สถาปนิกจะต้องส่งมอบให้แก่เจ้าของงานตามขั้นตอนนี้ประกอบด้วย
2.3.1 แบบสถาปัตยกรรมซึ่งประกอบด้วย
· แบบแสดงผังบริเวณ และระบบสาธารณูปโภคภายนอกอาคาร
· แบบแสดงแปลนทุกชั้น
· แบบแสดงรูปทั้ง 4 ด้าน
· แบบแสดงรูปตัดอย่างน้อย 2 รูป
· แบบแสดงรายละเอียด และแบบขยายต่างๆที่จำเป็น
2.3.2 แบบวิศวกรรมโครงสร้าง พร้อมรายละเอียด และรายการคำนวณ
2.3.3 แบบวิศวกรรมสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรือเฉพาะสาขาที่ตกลงกัน พร้อมเอกสารที่จำเป็น
2.3.4 รายการละเอียดประกอบแบบก่อสร้าง
2.3.5 ประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง
2.4 ประกวดราคา
สถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการประกวดราคาดังต่อไปนี้
2.4.1 จัดทำประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง
2.4.2 จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา
2.4.3 ให้คำแนะนำในการตรวจสอบใบเสนอราคาของผู้รับจ้างก่อสร้าง
2.4.4 ให้คำแนะนำในการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
2.4.5 จัดเตรียมเอกสารสัญญา
2.5 การก่อสร้าง
สถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบ และเอกสารสัญญาดังต่อไปนี้
2.4.1 จัดทำประมาณการราคากลางค่าก่อสร้าง
2.4.2 จัดเตรียมเอกสารประกวดราคา
2.4.3 ให้คำแนะนำในการตรวจสอบใบเสนอราคาของผู้รับจ้างก่อสร้าง
2.4.4 ให้คำแนะนำในการคัดเลือกผู้รับจ้างก่อสร้าง
2.4.5 จัดเตรียมเอกสารสัญญา
2.5 การก่อสร้าง
สถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างเพื่อให้การก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบ และเอกสารสัญญาดังต่อไปนี้
2.5.1 ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างก่อสร้าง ณ สถานที่ก่อสร้างเป็นครั้งคราว และรายงานให้เจ้าของงานทราบในกรณีที่จำเป็น
2.5.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
2.5.3 ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ควบคุมงานของเจ้าของงาน เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบและเอกสารสัญญา
2.5.4 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมความจำเป็น
2.5.5 ตรวจและอนุมัติแบบใช้งาน และวัสดุและอุปกรณ์ตัวอย่าง ก่อนนำเสนอผู้ว่าจ้าง
2.6 การส่งมอบเอกสาร
สถาปนิกจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.1 และ 2.2 จำนวน 5 ชุด และจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.3 จำนวน 10 ชุด ให้แก่เจ้าของงานในกรณีที่เจ้าของงานต้องการเอกสารมากกว่าที่กำหนด สถาปนิกจะเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสารเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายจริง
2.5.2 ให้คำแนะนำแก่ผู้รับจ้างก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
2.5.3 ให้คำปรึกษาและแนะนำแก่ผู้ควบคุมงานของเจ้าของงาน เพื่อให้งานก่อสร้างดำเนินไปตามความประสงค์ในการออกแบบและเอกสารสัญญา
2.5.4 ให้รายละเอียดเพิ่มเติมความจำเป็น
2.5.5 ตรวจและอนุมัติแบบใช้งาน และวัสดุและอุปกรณ์ตัวอย่าง ก่อนนำเสนอผู้ว่าจ้าง
2.6 การส่งมอบเอกสาร
สถาปนิกจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.1 และ 2.2 จำนวน 5 ชุด และจะส่งมอบเอกสารตามข้อ 2.3 จำนวน 10 ชุด ให้แก่เจ้าของงานในกรณีที่เจ้าของงานต้องการเอกสารมากกว่าที่กำหนด สถาปนิกจะเบิกค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เอกสารเพิ่มเติมค่าใช้จ่ายจริง
หมวดที่ 3
ค่าบริการทางวิชาชีพขั้นพื้นฐาน
ค่าบริการทางวิชาชีพขั้นพื้นฐาน
สมาคมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การคิดค่าบริการวิชาชีพไว้ 2 วิธี คือ คิดจากอัตราร้อยละ และคิดจากเวลาทำงาน ดังมีรายละเอียดในการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้
3.1 การคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละ สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละของค่าก่อสร้างสำหรับงานออกแบบโดยทั่วไป โดยคำนวณจากตารางหมายเลข 1 “ อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” เป็นหลักการคำนวณหาค่าบริการวิชาชีพตามข้อนี้ให้ถือปฏิบัติดังต่อไปนี้
3.1.1 งานก่อสร้างโดยทั่วไป การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างโดยทั่วไป ให้คำนวณจากอัตราร้อยละตามระบุในตารางหมายเลข 1 “อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน” โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า
ตัวอย่างอาคารประเภท 4 ราคาก่อสร้าง 35 ล้านบาท ให้คำนวณหาค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้
10 ล้านบาทแรก อัตราร้อยละ 6.50 เป็นเงิน 650,000 บาท
20 ล้านบาทถัดไป อัตราร้อยละ 5.50 เป็นเงิน 1,100,000 บาท
5 ล้านบาทที่เหลือ อัตราร้อยละ 4.75 เป็นเงิน 237,500 บาท
รวมเป็นค่าบริการทั้งสิ้น 1,987,500 บาท
3.1.2 งานก่อสร้างต่อเติม* การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างต่อเติม ให้คิดค่าบริการเป็น 1.1 เท่า ของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1* งานก่อสร้างต่อเติม หมายถึงการออกแบบงานก่อสร้างต่อเติมอาคารที่มีอยู่แล้ว และการก่อสร้างต่อเติมจำเป็นจะต้องแก้ไขระบบ โครงสร้างของอาคารเดิมบางส่วน และหรือจำเป็นจะต้องแก้ไขประโยชน์ใช้สอยของอาคารเดิมบางส่วน
3.1.3 งานก่อสร้างดัดแปลง** การคิดค่าบริการวิชาชีพสำหรับงานก่อสร้างดัดแปลงให้คิดค่าบริการเป็น 1.4 เท่าของค่าบริการวิชาชีพตามข้อ 3.1.1
** งานก่อสร้างดัดแปลง หมายถึงการดัดแปลงแก้ไขประโยชน์ใช้สอยภายในอาคารที่มีอยู่แล้วจะโดยการแก้ไขเพิ่มเติมระบบโครงสร้างหรือไม่ก็ตาม
3.1.4 งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกัน งานก่อสร้างที่ใช้แบบซ้ำกันโดยไม่ต้องเขียนแบบใหม่ และทำการก่อสร้างในบริเวณเดียวกัน ให้คิดค่าบริการวิชาชีพดังต่อไปนี้
· หลังที่ 1 คิดค่าบริการ 100 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1
· หลังที่ 2 คิดค่าบริการ 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการ ตามข้อ 3.1.1
· หลังที่ 3 ถึงหลังที่ 5 คิดค่าบริการหลังละ 25 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1
· หลังที่ 6 ถึง หลังที่ 10 คิดค่าบริการหลังละ 20 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1
· ตั้งแต่หลังที่ 11 ขึ้นไปคิดค่าบริการหลังละ 15 เปอร์เซ็นต์ ของค่าบริการตามข้อ 3.1.1
3.2 การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงาน การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาการทำงานนี้ ให้ใช้เฉพาะงานที่ไม่สามารถคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละตามข้อ 3.1 ได้ เช่น การจัดทำผังแม่บท การให้คำปรึกษา การอำนวยการก่อสร้างเป็นต้น
การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงานนี้ให้คำนวณจากอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ คูณ ด้วยเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโครงการนี้และบวกด้วยค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ
3.2.1 อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่นี้รวมถึงค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าสวัสดิการพนักงาน และค่าดำเนินงานสำนักงาน ซึ่งโดยปกติอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ จะมีค่าเท่ากับ 2.145- 2.5 เท่าของอัตราเงินเดือนพนักงานนั้นๆ (ค่าสวัสดิการพนักงานประมาณ 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน ค่าดำเนินงานสำนักงานประมาณ 60 – 90 เปอร์เซ็นและค่ากำไร 10 เปอร์เซ็นต์)
3.2.2 ค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ จะสถาปนิกจะคำนวณค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ ตามที่สถาปนิกจะต้องจ่ายสำหรับการให้บริการตามโครงการนี้ เพิ่มจากบริการวิชาชีพตามเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 3.2.1 ดังต่อไปนี้
· ค่าพิมพ์แบบและเอกสารอื่นๆ
· ค่าเดินงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก
· ค่าติดต่อสื่อสาร
· ค่าจัดเตรียมประมาณการราคากลาง
· ค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นจำลอง
· ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรฐกิจ
· ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่นๆ ที่จำเป็น
· ค่าสำรวจทางสนาม
· ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สถาปนิกสามารถแสดงหลักฐานแก่เจ้าของงาน
3.3 การจ่ายเงินค่าบริการวิชาชีพ สถาปนิกจะเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพเป็นงวดๆ ดังต่อไปนี้
งวดที่ 1 อัตราร้อยละ 5 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกตกลงเข้ารับทำงาน
งวดที่ 2 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารการวางเค้าโครงการออกแบบ และการออกแบบร่างขั้นต้น ตามระบุในข้อ 2.1
งวดที่ 3 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารแบบร่างขั้นสุดท้าย ตามระบุในข้อ 2.2
งวดที่ 4 อัตราร้อยละ 40 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
งวดที่ 5 อัตราร้อยละ 15 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
*หมายเหตุ การเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 1 ให้คำนวณจากประมาณการราคากลางที่เจ้าของงานกำหนด งวดที่ 2 ถึง งวดที่ 4 ให้คำนวณจากประมาณการราคาค่าก่อสร้างที่สถาปนิกจัดทำตามข้อ 2.1.4 เงินค่าบริการวิชาชีพจ่ายแล้วทั้ง 4 งวด และเงินส่วนที่เหลือ สถาปนิกจะแก้ไขจำนวนเงินให้ถูกต้องเมื่อทราบราคาค่าก่อสร้าง 3.4 การคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพ เพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐานในกรณีดังต่อไปนี้
3.1.1 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะให้สถาปนิกเกินกว่า 1 สำนักงานร่วมปฏิบัติในโครงการเดียวกัน สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลพื้นฐานอีกร้อยละ 25
3.1.2 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะแยกงานวิศวกรรมสาขาหนึ่งสาขาใด หรือทุกสาขาไปให้สำนักงานอื่นดำเนินการสถาปนิกมีหน้าที่เพียงเพื่อประสานงานเท่านั้น สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพในการประสานงานเท่ากับร้อยละ 30 ของค่าบริการวิชาชีพในสาขานั้น ๆ
3.1.3 ในกรณีที่เจ้าของงานเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนรายละเอียดให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ละขั้นตอน สถาปนิกจะได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริงที่สถาปนิกจะต้องเสียไป โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
3.1.4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามโครงการนี้ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องเดินทางออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งค่าติดต่อสื่อสารด้วย
3.1.5 ค่าบริการพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการบริการขั้นมูลฐานตามระบุในหมวดที่ 2 สถาปนิกจะคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริง โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
3.2 การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงาน การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาการทำงานนี้ ให้ใช้เฉพาะงานที่ไม่สามารถคิดค่าบริการวิชาชีพเป็นอัตราร้อยละตามข้อ 3.1 ได้ เช่น การจัดทำผังแม่บท การให้คำปรึกษา การอำนวยการก่อสร้างเป็นต้น
การคิดค่าบริการวิชาชีพโดยคำนวณจากเวลาทำงานนี้ให้คำนวณจากอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ คูณ ด้วยเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับโครงการนี้และบวกด้วยค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ
3.2.1 อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ อัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่นี้รวมถึงค่าใช้จ่ายเงินเดือน ค่าสวัสดิการพนักงาน และค่าดำเนินงานสำนักงาน ซึ่งโดยปกติอัตราค่าบริการต่อเดือนของเจ้าหน้าที่ จะมีค่าเท่ากับ 2.145- 2.5 เท่าของอัตราเงินเดือนพนักงานนั้นๆ (ค่าสวัสดิการพนักงานประมาณ 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ของอัตราเงินเดือน ค่าดำเนินงานสำนักงานประมาณ 60 – 90 เปอร์เซ็นและค่ากำไร 10 เปอร์เซ็นต์)
3.2.2 ค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ จะสถาปนิกจะคำนวณค่าใช้จ่ายโดยตรงอื่นๆ ตามที่สถาปนิกจะต้องจ่ายสำหรับการให้บริการตามโครงการนี้ เพิ่มจากบริการวิชาชีพตามเวลาทำงานของเจ้าหน้าที่ตามข้อ 3.2.1 ดังต่อไปนี้
· ค่าพิมพ์แบบและเอกสารอื่นๆ
· ค่าเดินงาน ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าที่พัก
· ค่าติดต่อสื่อสาร
· ค่าจัดเตรียมประมาณการราคากลาง
· ค่าใช้จ่ายในการทำหุ่นจำลอง
· ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์โครงการด้านเศรฐกิจ
· ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญแขนงอื่นๆ ที่จำเป็น
· ค่าสำรวจทางสนาม
· ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่สถาปนิกสามารถแสดงหลักฐานแก่เจ้าของงาน
3.3 การจ่ายเงินค่าบริการวิชาชีพ สถาปนิกจะเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพเป็นงวดๆ ดังต่อไปนี้
งวดที่ 1 อัตราร้อยละ 5 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกตกลงเข้ารับทำงาน
งวดที่ 2 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารการวางเค้าโครงการออกแบบ และการออกแบบร่างขั้นต้น ตามระบุในข้อ 2.1
งวดที่ 3 อัตราร้อยละ 20 ของค่าบริการวิชาชีพเมื่อสถาปนิกส่งมอบเอกสารแบบร่างขั้นสุดท้าย ตามระบุในข้อ 2.2
งวดที่ 4 อัตราร้อยละ 40 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียด โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
งวดที่ 5 อัตราร้อยละ 15 ของค่าบริการวิชาชีพ ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะเบิกเงินเป็นงวดๆ ตามที่ตกลงกัน
*หมายเหตุ การเบิกเงินค่าบริการวิชาชีพงวดที่ 1 ให้คำนวณจากประมาณการราคากลางที่เจ้าของงานกำหนด งวดที่ 2 ถึง งวดที่ 4 ให้คำนวณจากประมาณการราคาค่าก่อสร้างที่สถาปนิกจัดทำตามข้อ 2.1.4 เงินค่าบริการวิชาชีพจ่ายแล้วทั้ง 4 งวด และเงินส่วนที่เหลือ สถาปนิกจะแก้ไขจำนวนเงินให้ถูกต้องเมื่อทราบราคาค่าก่อสร้าง 3.4 การคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐาน สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพ เพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลฐานในกรณีดังต่อไปนี้
3.1.1 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะให้สถาปนิกเกินกว่า 1 สำนักงานร่วมปฏิบัติในโครงการเดียวกัน สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากค่าบริการวิชาชีพขั้นมูลพื้นฐานอีกร้อยละ 25
3.1.2 ในกรณีที่เจ้าของงานมีความประสงค์จะแยกงานวิศวกรรมสาขาหนึ่งสาขาใด หรือทุกสาขาไปให้สำนักงานอื่นดำเนินการสถาปนิกมีหน้าที่เพียงเพื่อประสานงานเท่านั้น สถาปนิกจะคิดค่าบริการวิชาชีพในการประสานงานเท่ากับร้อยละ 30 ของค่าบริการวิชาชีพในสาขานั้น ๆ
3.1.3 ในกรณีที่เจ้าของงานเปลี่ยนแปลงแก้ไขแบบแปลนรายละเอียดให้ผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุมัติแล้วแต่ละขั้นตอน สถาปนิกจะได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริงที่สถาปนิกจะต้องเสียไป โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
3.1.4 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางและที่พัก สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามโครงการนี้ ในกรณีที่จำเป็นจะต้องเดินทางออกนอกเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งค่าติดต่อสื่อสารด้วย
3.1.5 ค่าบริการพิเศษอื่นๆ นอกเหนือจากการบริการขั้นมูลฐานตามระบุในหมวดที่ 2 สถาปนิกจะคิดค่าบริการเพิ่มเติมตามค่าใช้จ่ายจริง โดยคำนวณจากเวลาทำงานตามข้อ 3.2
ประเภทของงาน
งานประเภทที่ 1 การออกแบบตกแต่งภายใน การออกแบบผลิตภัณฑ์สถาปัตยกรรมและครุภัณฑ์
งานประเภทที่ 2 พิพิธภัณฑ์ อนุสาวรีย์ อาคารอนุสรณ์ที่มีแผนแบบวิจิตร อาคารทางศาสนา (วัด โบสถ์ วิหาร)
งานประเภทที่ 3 บ้านพักอาศัย อาคารประเภทโรงเรือนสลับซับซ้อนที่มีส่วนใช้สอยของอาคารหลายๆ ประเภทรวมกันตั้งแต่ 3 ประเภทขึ้นไป ทั้งนี้ไม่นับรวมงานประเภทที่ 1 และงานภูมิสถาปัตย์
งานประเภทที่ 4 โรงพยาบาล อาคารห้องปฏิบัติการ รัฐสภา ศาลาท้องถิ่น วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หอสมุด โรงแรม โมเต็ล ธนาคาร อาคาร ชุดพักอาศัย โรงภาพยนตร์ สนามกีฬาในร่ม
งานประเภทที่ 5 อาคารสำนักงาน อาคารสรรพสินค้า สถานที่กักกัน สถานพักฟื้น หอพัก โรงเรียน อาคารอุตสาหกรรม สถานบริการรถยนต์
งานประเภทที่ 6อัฒจันทร์ โรงพัสดุ คลังสินค้า อาคารจอดรถ ห้องแถว ตลาด
ตารางหมายเลข 1 อัตราค่าบริการวิชาชีพขั้นพื้นฐาน
_______________________________________________________________
ประเภท ไม่เกิน สิบล้านถึง 30 ล้านถึง 50ล้านถึง 100 ล้านถึง 200 ล้าน 500 ล้าน
ของงาน สิบล้าน 30 ล้าน 50 ล้าน 100 ล้าน 200 ล้าน ถึง500 ล้าน ขึ้นไป
ของงาน สิบล้าน 30 ล้าน 50 ล้าน 100 ล้าน 200 ล้าน ถึง500 ล้าน ขึ้นไป
ประเภท 1 10.00 7.75 6.50 6.00 5.25 4.50 3.70
ประเภท 2 8.50 6.75 5.75 5.50 4.75 4.25 3.60
ประเภท 3 7.50 6.00 5.25 5.00 4.50 4.00 3.50
ประเภท 4 6.50 5.50 4.75 4.50 4.25 3.75 3.40
ประเภท 5 5.50 4.75 4.50 4.25 4.00 3.50 3.30
ประเภท 3 7.50 6.00 5.25 5.00 4.50 4.00 3.50
ประเภท 4 6.50 5.50 4.75 4.50 4.25 3.75 3.40
ประเภท 5 5.50 4.75 4.50 4.25 4.00 3.50 3.30
ประเภท 6 4.50 4.25 4.00 3.75 3.50 3.25 3.20
หมวดที่ 4
หน้าที่ของเจ้าของงาน
นอกจากความรับผิดชอบตามที่ระบุในหมวดที่ 2 หมวดที่ 3 และในข้อตกลงระหว่างสถาปนิก และเจ้าของงานแล้ว เจ้าของงานมีหน้าที่ในการจัดเตรียมข้อมูล และดำเนินงานต่างๆ ดังต่อไปนี้ เพื่อให้งานออกแบบและก่อสร้างงานตามโครงการดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย
4.1 การจัดเตรียมโครงการ
เจ้าของงานจะจัดเตรียมโครงการและวัตถุประสงค์ของงานก่อสร้างที่จะให้สถาปนิกดำเนินงานออกแบบ ซึ่งอย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบด้วยข้อมูลและรายละเอียดดังต่อไปนี้
4.1.1 รายละเอียดของเจ้าหน้าที่ และพื้นที่ใช้สอยของแต่ละหน่วยงาน
4.1.2 รายละเอียดความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานของแต่ละหน่วยงาน
4.1.3 รายละเอียดการจัดทำงบประมาณค่าก่อสร้าง
4.1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองและสภาพที่ดิน
4.1.5 รายละเอียดการสำรวจสภาพชั้นดิน
4.1.6 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ และก่อสร้างงานตามโครงการ
4.2 การให้ความร่วมมือกับสถาปนิก
เจ้าของงานหรือผู้แทนที่เจ้าของงานแต่งตั้งจะให้ความร่วมมือกับสถาปนิก ในการตรวจเอกสารต่างๆ ซึ่งยื่นเสนอโดยสถาปนิก และพิจารณาตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องในเวลาอันเหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความล่าช้ากับการดำเนินงานของสถาปนิก
4.3 การขออนุญาต
เจ้าของงานจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และการขออนุญาตต่างๆ จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยสถาปนิกจะเป็นผู้จัดเตรียมแบบแปลน และรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับแบบแปลนเพื่อใช้ในการขออนุญาต
4.4 การควบคุมงานก่อสร้าง
เจ้าของงานมีหน้าที่ในการจัดหาผู้ควบคุมงานก่อสร้างมาประจำที่สถานที่ก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างตามระบุในข้อ 2.5
4.1.1 รายละเอียดของเจ้าหน้าที่ และพื้นที่ใช้สอยของแต่ละหน่วยงาน
4.1.2 รายละเอียดความสัมพันธ์ภายในหน่วยงาน และระหว่างหน่วยงานของแต่ละหน่วยงาน
4.1.3 รายละเอียดการจัดทำงบประมาณค่าก่อสร้าง
4.1.4 รายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิในการครอบครองและสภาพที่ดิน
4.1.5 รายละเอียดการสำรวจสภาพชั้นดิน
4.1.6 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล และวัตถุประสงค์อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ และก่อสร้างงานตามโครงการ
4.2 การให้ความร่วมมือกับสถาปนิก
เจ้าของงานหรือผู้แทนที่เจ้าของงานแต่งตั้งจะให้ความร่วมมือกับสถาปนิก ในการตรวจเอกสารต่างๆ ซึ่งยื่นเสนอโดยสถาปนิก และพิจารณาตัดสินใจในส่วนที่เกี่ยวข้องในเวลาอันเหมาะสม เพื่อมิให้เกิดความล่าช้ากับการดำเนินงานของสถาปนิก
4.3 การขออนุญาต
เจ้าของงานจะต้องเป็นผู้ดำเนินการขออนุญาตปลูกสร้างอาคาร และการขออนุญาตต่างๆ จากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยสถาปนิกจะเป็นผู้จัดเตรียมแบบแปลน และรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับแบบแปลนเพื่อใช้ในการขออนุญาต
4.4 การควบคุมงานก่อสร้าง
เจ้าของงานมีหน้าที่ในการจัดหาผู้ควบคุมงานก่อสร้างมาประจำที่สถานที่ก่อสร้าง โดยสถาปนิกจะให้ความร่วมมือในการก่อสร้างตามระบุในข้อ 2.5
หมวดที่ 5
กรรมสิทธิ์ในแบบและการล้มเลิกโครงการ
กรรมสิทธิ์ในแบบและการล้มเลิกโครงการ
5.1 กรรมสิทธิ์ในแบบและเอกสารต่างๆ
กรรมสิทธิ์ในแบบและเอกสารทั้งหมดเป็นของสถาปนิก ไม่ว่างานก่อสร้างในโครงการ นั้น จะดำเนินการก่อสร้างหรือไม่เจ้าของงานจะนำแบบแปลนรายละเอียดของงานก่อสร้างนี้ไปดำเนินการก่อสร้างในโครงการอื่นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากสถาปนิก และสถาปนิกจะไม่นำแบบแปลนรายละเอียดของงานก่อสร้างนี้ไปใช้ในโครงการอื่น นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงาน
5.2 การล้มเลิกโครงการ
ในกรณีที่เจ้าของงานล้มเลิกโครงการทั้งหมดหรือระงับโครงการโดยไม่มีกำหนดเวลา สถาปนิกมีสิทธิได้รับค่าบริการวิชาชีพเพิ่มจากที่ได้รับไปแล้ว เท่ากับผลงานที่สถาปนิกได้ดำเนินการไปแล้วก่อนที่ได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น